พุยพุย

Learning Log 4


Learning Log  4
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 29 สิงหาคม 2560

เนื้อหาที่เรียน/กิจกรรม
                     วันนี้อาจารย์ได้เปิดบล็อกของเพื่อนแต่ละคน   เพื่อแนะนำข้อควรแก้ไขหรือควรส่งเสริมตรงไหนเพิ่มเติม โดยจะเห็นได้ว่าเพื่อนบางคนทำเป็นปัจจุบันมีเนื้อหารายละเอียดชัดเจน เพื่อนบางคนก็ยังขาดข้อมูลบางส่วน  โดยอาจารย์ได้แนะนำในส่วนตรงนั้นให้ไปแก้ไข้ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อนที่ทำได้ละเอียดชัดเจน อาจารย์ก็ได้แนะนำให้ไปดูของเพื่อนเป็นแบบอย่างได้
                     กิจกรรมของวันนี้ โดยอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มกลุ่มละ4-5คน จากนั้นให้แต่ละกลุ่มหาขวดน้ำมากลุ่มละ2ขวด โดยเจาะรูขวดทั้ง2ต่างกัน





เจาะ1รูที่ก้นขวด

เจาะ 3รูที่ข้างขวด โดยต่างระดับกัน

                                    1.ขวดแรกเจาะ1รูที่ก้นขวด ขวดที่2 เจาะ 3รูที่ข้างขวด โดยต่างระดับกัน
                                    2.จากนั้นใส่น้ำลงไปในขวดทั้ง2แล้วสังเกต

ผลการทดลองที่เกิดขึ้นขวดที่1  ที่เจาะที่ก้นขวด


                                 ครั้งที่ 1 เมื่อนำน้ำใส่ขวดแล้วปิดฝาปรากฏว่าน้ำไม่ไหลออก



                                 ครั้งที่2  เมื่อนำน้ำใส่ขวดแล้วเปิดฝาปรากฏว่าน้ำไหลออก

ผลการทดลองที่เกิดขึ้นขวดที่2 เจาะ 3รูที่ข้างขวด โดยต่างระดับกัน


ครั้งที่ 1 เมื่อนำน้ำใส่ขวดแล้วปิดฝาปรากฏว่าน้ำค่อยไหลออกจากรูที่อยู่บนสุด ไล่ลงมารูตรงกลางและรูล่างสุด โดยลักษณะการไหลของน้ำเป็นหยดๆ


ครั้งที่2  เมื่อนำน้ำใส่ขวดแล้วเปิดฝาปรากฏว่าน้ำไหลออกมาตามรูที่เจาะจากรูบนสุด ไล่ลงมารูตรงกลางและรูล่างสุด โดยลักษณะการไหลของน้ำเป็นสายพุ่งออกจากรู



สรุปผลการทดลอง
     ขวดที่1เจาะ1รูที่ก้นขวด
           เกิดจาก เมื่อเราเปิดฝาขวดออก จะทำให้อากาศเข้าไปในขวดน้ำได้  และแรงดันอากาศนั่นเองจะดันน้ำให้ไหลออกมาจากรูที่ถูกเจาะเอาไว้   แต่เมื่อเราปิดฝา  แรงดันอากาศก็ไม่สามารถเข้าไปได้ น้ำจึงไม่ไหล
     ขวดที่2 เจาะ 3รูที่ข้างขวด โดยต่างระดับกัน
           เกิดจาก แรงดันของน้ำบริเวณรูล่างสุดจะมากที่สุด แรงดันของน้ำบริเวณรูด้านบนจะน้อยที่สุด แรงดันของน้ำบริเวณระหว่างรูล่างสุด และบนสุดจะเท่ากัน แรงดันน้ำ ในที่ลึกจะมีแรงดันน้ำมากกว่า ส่วนบริเวณกลางๆ แรงดันน้ำก็จะคงที่ ส่วน ที่น้ำตื้นๆ แรงดันน้ำก็จะน้อย บริเวณที่ลึกที่สุด ส่งผลให้มีน้ำหนักของน้ำ หรือควารมดันของของเหลวมากที่สุด   ทำให้น้ำที่ไหลออกจากรูที่ 3 มีความแรงที่สุดนั้นเอง

 การประยุกต์ใช้
                สามารถนำการทดลองนี้ไปใช้ทดลองเพื่อให้เด็กสังเกตการไหลของน้ำทั้ง2ขวด เพื่อจะได้เรียนรู้เรื่องแรงดันน้ำ

ประเมิน
            เพื่อน:  เพื่อนช่วยการทำการทดลองเป็นอย่างดี และช่วยเหลือกันในกลุ่ม อีกทั้งยังร่วมกันสังเกตและสรุปผล
           ตนเอง :  ช่วยเพื่อนทำการทดลอง และสังเกตผลร่วมกัน
           อาจารย์ :  อาจารย์ได้ให้เรียนรู้โดยการลงมือกระทำ ทำให้ได้เรียนรู้อย่างเต็มที่และดีมาก และอาจารย์ได้สรุปองค์ความรู้ให้ เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น

Vocabulary
              Water pressure=แรงดันน้ำ
              Ari force=แรงดันอากาศ
              Test=การทดลอง
              Liquid=ของเหลว







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น