Learning Log 6
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 12 กันยายน 2560
เนื้อหา/กิจกรรรม
อาจารย์ได้ตวรจบล็อกของทุกคนเพื่อดูความคืบหน้า และแนะนำเพิ่มเติมในส่วนที่ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือส่งเสริมตรงไหนให้ดีขึ้นบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการทำบล็อกต่อไป
วันนี้ข้าพเจ้าได้นำเสนอจัยเรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ติดตามเพิ่มเติมที่https://spupapitt.blogspot.com/2017/09/blog-post_55.html
ติดตามเพิ่มเติมที่https://spupapitt.blogspot.com/2017/09/blog-post_55.html
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
➽การเปลี่ยนแปลง (change) เช่น เวลา น้้าหนัก การเคลื่อนต้าแหน่ง น้้าขึ้นน้้าลง และสิ่งอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวเด็ก
➽ความแตกต่าง (Variety)ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเข้าใจถึงความแตกต่างและความเหมือนของสิ่งต่างๆ
➽การปรับตัว (Adjustment)ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เช่น ทางภาคอีสานมีอากาศที่ร้อน จึงมีการสร้างบ้นที่หน้าต่างๆเยอะๆ เพื่อให้ระบายอากาศได้ดี
➽การพึ่งพาอาศัยกัน (Maturity)ทุกสิ่งในโลกนี้จะต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันและกัน เช่น นกเอี้ยงกับควาย แมลงกับดอกไม้
➽ความสมดุล (Equilibrium)ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิตและปรับตัวให้ได้ดุล และมีความผสมกลมกลืน เช่น ปลาอยู่ในน้้า นกบินได้ ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็ก
องค์ประกอบความรู้ทางวิทยาศาสตร์
องค์ประกอบด้านความรู้
องค์ประกอบด้านเจตคติ
องค์ประกอบด้านกระบวนการ
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จะต้องอยู่บนเงื่อนไข 3 ประการ ดังนี้
1. เป็นความรู้ทางธรรมชาติ
2. ได้จากการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าศึกษาค้นคว้า
3. เป็นความรู้ที่ผ่านการตรวจสอบ หรือยืนยันแล้วว่าเป็นความจริง (Tested knowledge )
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อาจแบ่งเป็น 5 ประเภท
1. ข้อเท็จจริง (Fact) เช่น น้ำไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ
2.มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ (Concept) เกิดจากการนำเอาข้อเท็จจริงหลายๆ ส่วนที่เกี่ยวข้องมาผสมผสานเกิดความรู้ใหม่ เช่น แมวเป็นสัตว์4ขา มีหนวด เลี้ยงลูกด้วยนม
3.หลักการ (Principle)กลุ่มของความคิดรวบยอดที่เป็นความรู้หลักทั่วไป สามารถใช้อ้างอิงได้ คุณสมบัติของหลักการ เช่น ก๊าชเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว
4.กฎ (Law)เช่นเมื่อน้ำเย็นจนเป็นนำแข็ง จะมีปริมาตรเพิ่มขึ้น
5.ทฤษฎี (Theory) ความรู้ที่ผ่านการตรวจสอบหลายๆครั้ง จนเป็นที่ยอมรับกัน
วิธีการทางวิทยาศาสตร์
สังเกต-- ตั้งปัญหา---ตั้งสมมุติฐาน---ทดลอง--สรุปผล--
1. สังเกต (Observation)
2.ตั้งปัญหา ( Problem)
3. ตั้งสมมติฐาน (Make a Hypothesis)
5.สรุปผล (Conclusion)
เจตคติของนักวิทยาศาสตร์
➤อยากรู้อยากเห็น
➤เพียรพยายาม
➤มีเหตุผล
➤ซื่อสัตย์
➤มีระเบียบและรอบคอบ
➤ใจกว้าง
➤สงสัย
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์(Science process skills)
-ทักษะการสังเกต (Observing)
-ทักษะการวัด (Measure)
-ทักษะการคำนวณ (Using Numbers)
-ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
-ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลาา(Using Space/Time Relationships)
-ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล(Organizing Data and Communicating)
-ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring)
-ทักษะการพยากรณ์ (Predicting)
ทักษะขั้นผสมหรือบูรณาการ
-ทักษะการตั้งสมมติฐาน
-ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
-ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
-ทักษะการทดลอง
-ทักษะการตีความหมายและการลงข้อสรุป
กิจกรรมต่อมาอาจารย์ให้แต่ละคนมานำเสนอว่าจะทำในรูปแบบไหนตามหัวข้อดังนี้
⟾ของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
⟾การทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
⟾สื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การนำไปประยุกต์ใช้
นำมาใช้จัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทักษะขั้นผสมหรือบูรณาการวิธีการทางวิทยาศาสตร์ สังเกต ตั้งปัญหา ตั้งสมมุติฐาน ทดลอง สรุปผล
ประเมิน
เพื่อน: เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์ให้ความรู้เป็นอย่างดี
ตนเอง : วันนี้นำเสนอวิจัยค่อนข้างกังวล แต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี
อาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมจากงานวิจัยเพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น และอาจารย์สอนได้ละเอียดดี มีการยกตัวอย่างเพื่อความเข้าใจง่าย
Vocabulary
การเปลี่ยนแปลง (change)
ความแตกต่าง (Variety)
การปรับตัว (Adjustment)
การพึ่งพาอาศัยกัน (Maturity)
ความสมดุล (Equilibrium)
ข้อเท็จจริง (Fact)
มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ (Concept)
หลักการ (Principle
กฎ (Law)
ทฤษฎี (Theory)
สังเกต (Observation)
ตั้งปัญหา ( Problem)
ตั้งสมมติฐาน (Make a Hypothesis)
สรุปผล (Conclusion)
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์(Science process skills)
ทักษะการสังเกต (Observing)
ทักษะการวัด (Measure)
ทักษะการคำนวณ (Using Numbers)
ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลาา(Using Space/Time Relationships)
ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล(Organizing Data and Communicating)
ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring)
ทักษะการพยากรณ์ (Predicting)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น